Health

  • เมนูยอดนิยมสำหรับผู้กำลังที่คิดจะขายของ
    เมนูยอดนิยมสำหรับผู้กำลังที่คิดจะขายของ

    เมนูยอดนิยมของคนไทย ทำง่าย ขายดี สำหรับผู้กำลังคิดจะขายของกิน พร้อม เทคนิคและคำแนะนำสำหรับขายของกินออนไลน์

    ในยุคเศรษฐกิจแบบนี้ ไม่ว่าใครก็ต้องเจอกับวิกฤต ต้องหาวิธีเอาตัวรอดให้ตัวเองได้ไปต่อ บางคนผันตัวเองจากพนักงานบริษัทมาขายของ ทำธุรกิจส่วนตัวกัน และแน่ล่ะ หนึ่งในธุรกิจที่คนหันมาทำกันมากขึ้นก็คือเปิดร้านขายของกิน ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารมีหน้าร้าน หรือจะทำที่บ้านขายออนไลน์ส่งเดลิเวอรี่ วันนี้ยูนิลีเวอร์ ฟู้ด โซลูชั่นส์ เลยอยากมาแชร์ 8 เมนูยอดนิยมของคนไทย เมนูที่ทำได้ง่ายๆ แถมยังขายดี การันตีจากสวนดุสิตโพลว่าเป็นเมนูที่คนไทยนิยมทาน ใครที่กำลังคิดจะเปิดร้านอาหารขายของกิน  8 เมนูยอดนิยม ทำง่าย ขายดี สำหรับผู้สนใจขายของกิน

    เมนูยอดนิยมสำหรับผู้กำลังที่คิดจะขายของ

    1.ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย

    ก๋วยเตี๋ยวเป็นหนึ่งในเมนูยอดฮิตของคนไทย แต่ก๋วยเตี๋ยวธรรมดาก็มีคนขายเยอะแล้ว ขอเสนอเมนูสำหรับขายของกินเป็นก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยหรือก๋วยเตี๋ยวต้มยำสุโขทัย เป็นก๋วยเตี๋ยวเอกลักษณ์ของจังหวัดสุโขทัย โดดเด่นที่เครื่องหลากหลายชนิด โดยจะเสิร์ฟพร้อมหมูบะช่อ ด้วยเครื่องที่หลากหลายทำให้ลูกค้าต่างหลงใหลในเมนูก๋วยเตี๋ยวสุโขทัยนี้ก็ว่าได้

    2.กะเพราหมูสับ

    เมนูตามสั่งยอดนิยมตลอดกาล กะเพราหมูสับเป็นหนึ่งในเมนูแรกๆ ที่ลูกค้ามักนึกถึง ใครอยากขายของกิน เปิดร้านอาหารตามสั่ง ต้องมีเมนูนี้ไว้เป็นหนึ่งในรายการหลัก ส่วนหากอยากทำให้ลูกค้าติดใจ สูตรต้องแม่น รสชาติกลมกล่อม คงที่ แนะนำทำตามสูตรนี้เลย

    3.ผัดกะเพราแหนมราดข้าว

    เมนูขายดี ผัดกะเพราแหนม ราดข้าว ที่เพิ่มมูลค่าความแปลกใหม่จากเมนูยอดนิยมคือผัดกะเพราด้วยการเพิ่มรสชาติเปรี้ยวอย่างกลมกล่อมของแหนมได้อย่างลงตัว เมนูนี้ทำง่ายในไม่กี่ขั้นตอนเหมาะกับคนที่ต้องการขายของกิน

    4.ไข่เยี่ยวม้ากะเพรากรอบ ราดข้าว

    ต่อยอดกับจากเมนูขายดีตลอดกาลอีกเมนูกับไข่เยี่ยวม้ากะเพรากรอบราดข้าวที่ลูกค้าที่อยากได้รสชาติกลมกล่อมของไข่เยี่ยวม้าที่เข้ากับความเผ็ดร้อนของสมุนไพรอย่างใบกะเพรา กระชาย ผู้ที่อยากขายของกินลองนำสูตรนี้ไปทำขายได้

    5.ไข่ข้นกะเพราหมูสับ กุ้ง ปลาหมึก

    สำหรับลูกค้าที่ชอบความหลากหลาย เราสามารถขายของกินเมนูยอดฮิตผัดกะเพราเป็นไข่ข้นกะเพราหมูสับ กุ้ง ปลาหมึกที่ผสมเนื้อสัตว์ทั้ง 3 ชนิดลงในจานเดียว ผัดเผ็ดร้อนด้วยกะเพราและสมุนไพรอื่นๆ ปรุงรสตามสูตรเพื่อความกลมกล่อม

    6.ไข่เจียวปู

    สำหรับคนที่อยากขายของกิน ขายข้าวไข่เจียวเฉยๆ อาจจะธรรมดาเกินไป ร้านไหนก็ทำขายได้ เราสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับเมนูของร้านด้วยไข่เจียวรสชาติดี ที่มาในรูปแบบคอนโด ไข่นุ่มๆ เนื้อปูแน่นๆ รับรองว่าลูกค้าติดใจแน่นอน

    7.ข้าวมันไก่

    คงปฏิเสธว่าข้าวมันไก่ก็เป็นหนึ่งในเมนูยอดฮิตจากรุ่นสู่รุ่น ใครอยากขายของกิน ข้าวมันไก่ก็เป็นอีกตัวเลือกที่ดี โดยสามารถเปิดร้านขายได้โดยไม่ต้องทำหลายเมนูเหมือนอาหารตามสั่ง ลองใช้สูตรนี้รับรองว่าลูกค้าติดใจแน่นอน

    8.ราดหน้าต้มยำทะเล

    เมนูราดหน้าธรรมดาก็เป็นเมนูยอดนิยมสำหรับผู้เปิดร้านขายของกิน แต่แนะนำให้ลองทำเมนูราดหน้าต้มยำทะเลเพื่อเพิ่มมูลค่าเมนูราดหน้าเดิมๆ ให้แปลกใหม่  ช่วยดึงดูดลูกค้าให้สนใจ แถมรสชาติยังถูกปากคนไทย ทำง่ายในไม่กี่ขั้นตอน

    นอกจากนี้ เรายังมีเคล็ดลับวิธีเอาตัวรอดให้คนที่เปิดร้านอาหารหรือกำลังคิดจะเปิดร้านอาหารให้ได้อยู่รอดหรืออยู่ต่อด้วยการขายออนไลน์ เผื่อเอาไปใช้เป็นแนวทางให้เจ้าของร้านได้นำไปปรับใช้ ไม่ว่าคุณจะกำลังสงสัยว่าจะขายของกินอะไรดี จะเริ่มธุรกิจขายอาหารออนไลน์จะทำอย่างไรดี จะขายของกินออนไลน์ให้ได้กำไรแบบยังไงดี เราได้รวบรวมเทคนิคและคำแนะนำมาไว้ที่นี่แล้ว

    ข้อมูลจาก  https://docs.google.com/document

     

    ติดตามอ่านต่อได้ที่  kilmallockgolf.com

Economy

  • หวั่นนักท่องเที่ยวจีนใช้เงินน้อยกว่าคาด แพงขึ้น 2 เท่า
    หวั่นนักท่องเที่ยวจีนใช้เงินน้อยกว่าคาด แพงขึ้น 2 เท่า

    หวั่นนักท่องเที่ยวจีนใช้เงินน้อยกว่าคาด เจอค่าตั๋วแพงขึ้น 2 เท่าแถมต้องตรวจ PCR ก่อนกลับประเทศ

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดนักท่องเที่ยวจีนปี 66 อาจแตะ 4.65 ล้านคน ชี้เริ่มเห็นเข้าไทยช่วงไตรมาส 2 มองโอกาสการใช้เงินอาจไม่สูงดั่งหวัง เหตุเจอราคาตั๋วเครื่องบินแพง และต้องตรวจ PCR ก่อนกลับ

    ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดชาวจีนเที่ยวไทยในปี 2566 อาจแตะ 4.65 ล้านคน โดยการเร่งตัวของนักท่องเที่ยวจะเริ่มเห็นในช่วงไตรมาส 2 และยิ่งชัดเจนมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ตามการขยายเส้นทางการบินและความถี่ของเที่ยวบินที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ด้วยค่าบัตรโดยสารเครื่องบินและประกันที่เพิ่มขึ้น คงทำให้การใช้จ่ายท่องเที่ยวในไทยของชาวจีนอาจไม่เพิ่มจากช่วงก่อนโควิด ภายใต้งบประมาณที่จัดสรรเพื่อการท่องเที่ยวเท่าเดิมจากการคาดการณ์ตลาดจีนเที่ยวไทยที่มาได้เร็วกว่าคาด ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงปรับประมาณการนักท่องเที่ยวต่างชาติเที่ยวไทยในปี 2566 เป็น 25.5 ล้านคน (กรอบ 24-26 ล้านคน) ซึ่งจะสร้างเม็ดเงินสู่ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องราว 1.07 แสนล้านบาท

    การเร่งตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเที่ยวไทยในปีนี้จะเริ่มเห็นชัดเจนในช่วงไตรมาส 2 และน่าจะก้าวกระโดดมากขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง ตามการขยายเส้นทางการบินและความถี่ของเที่ยวบินระหว่างจีนและไทยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยมีความเป็นไปได้ที่จำนวนเที่ยวบินต่อวันจากจีนมาไทยอาจจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่าในระหว่างปี เมื่อเทียบกับประมาณ 1,035 เที่ยวบินในช่วงไตรมาสแรกปี 2566 หรือเฉลี่ยประมาณ 11-15 เที่ยวบินต่อวัน และเทียบกับในช่วงที่จีนปิดประเทศเฉลี่ยที่ 3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ ซึ่งจะทำให้เที่ยวบินต่อวันในปี 2566 นี้อาจจะกลับมาราว 60-70% จากก่อนโควิด

     

    อย่างไรก็ตาม การกลับมาเปิดเส้นทางการบินจนถึง ณ ปลายปี 2566 อาจจะยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 93 เที่ยวบินต่อวัน (รวมเช่าเหมาลำ) ในช่วงก่อนการระบาดของโควิดในปี 2562 เนื่องจากจำนวนชาวจีนเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศแม้เพิ่มขึ้นแต่อาจยังมีจำกัด และการจัดการด้านทรัพยากรรองรับคงต้องใช้เวลา อาทิ เครื่องบิน นักบิน พนักงานภาคพื้น เป็นต้น

    หวั่นนักท่องเที่ยวจีนใช้เงินน้อยกว่าคาด เจอค่าตั๋วแพงขึ้น 2 เท่าแถมต้องตรวจ PCR ก่อนกลับประเทศ

    สำหรับการใช้จ่ายต่อทริปในไทยของชาวจีนในปี 2566 อาจไม่เพิ่มหากเทียบกับก่อนโควิดในปี 2562 เนื่องจากชาวจีนที่เดินทางท่องเที่ยวต้องกันค่าใช้จ่ายเพื่อการเดินทาง (ค่าตั๋วเครื่องบินและค่าประกันสุขภาพ) สูงขึ้น บนเงื่อนไขการตั้งงบประมาณการเดินทางตลอดทริปที่เท่าเดิมจากสถานการณ์เศรษฐกิจและรายได้ที่ไม่ได้ดีขึ้น ยกเว้นว่านักท่องเที่ยวจะใช้เงินออมหรือเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจในจีน แม้ว่าราคาบัตรโดยสารเครื่องบินระหว่างไทย-จีนได้ปรับลดลงมาอย่างมากเมื่อเทียบกับในช่วงที่จีนยังปิดประเทศ แต่ราคาบัตรของเส้นทางบินตรงยังคงสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วงก่อนการระบาดของโควิดประมาณ 1.5 เท่า และสูงกว่า 200% ในเมืองที่ยังไม่มีเส้นทางบินตรง

    เนื่องจากในช่วงของการเริ่มเปิดประเทศปริมาณผู้โดยสารยังจำกัด ขณะเดียวกัน เนื่องจากต้นทุนในธุรกิจสายการบินยังสูง โดยเฉพาะราคาพลังงานที่มีแนวโน้มกลับมาสูงขึ้นหลังจากจีนเปิดประเทศ ทำให้ราคาบัตรโดยสารน่าจะยังทรงตัวสูง นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอย่างประกันสุขภาพ และการตรวจ PCR ก่อนที่ชาวจีนจะเดินทางกลับประเทศ ซึ่งเบี้ยประกันอาจมีราคาหลักพันบาทหรืออาจสูงกว่านี้ขึ้นอยู่กับอายุและระยะเวลาพำนักในไทย

    ดังนั้น หากนักท่องเที่ยวจีนมีงบการเดินทางเท่าเดิม ก็จะเหลือเม็ดเงินสำหรับการใช้จ่ายท่องเที่ยวน้อยลง อย่างไรก็ตาม ในช่วงถัดๆ ไปของปี หากการระบาดของโควิดบรรเทาลงและผู้ประกอบการกลับมาทำการตลาดมากขึ้น ก็มีโอกาสที่ค่าใช้จ่ายที่ต้องกันไว้นี้อาจจะลดลงและทำให้ชาวจีนมีเม็ดเงินใช้จ่ายระหว่างท่องเที่ยวในไทยเพิ่มขึ้นจากช่วงต้นปีได้

    สำหรับสิ่งที่ต้องติดตามมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวจีนของต่างประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ยุโรป หากสถานการณ์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากจากปัจจุบัน และการท่องเที่ยวระยะไกลมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า ก็ยิ่งมีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ชาวจีนที่ต้องการเดินทางท่องเที่ยว จะเลือกไทยเป็นจุดหมายปลายทาง

    โดยในช่วงครึ่งหลังของปี 2566 เมื่อเส้นทางการบินกลับมาขยายตัว ควบคู่กับการทำการตลาดของหน่วยงานท่องเที่ยวและผู้ประกอบการมีมากขึ้น โดยเฉพาะถ้าไทยถูกเลือกเป็นหนึ่งในประเทศนำร่องของการฟื้นฟูการเดินทางแบบกลุ่มขนาดใหญ่ คงจะทำให้ชาวจีนเดินทางท่องเที่ยวในไทยเร่งตัวขึ้นก้าวกระโดดจากช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากจะมีฤดูกาลท่องเที่ยวของชาวจีนที่สำคัญ คือ ช่วงปิดภาคเรียนฤดูร้อน (ระหว่างเดือนก.ค.-ส.ค. ของทุกปี) และช่วงวันหยุดยาววันชาติจีน (ในช่วงวันที่ 1-7 ต.ค. ของทุกปี)

    สำหรับทั้งปี 2566 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า นักท่องเที่ยวจีนเที่ยวไทยจะมีจำนวนประมาณ 4.65 ล้านคน หรือกลับมาประมาณ 42% ของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนในปี 2562 อย่างไรก็ดี ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่สูงขึ้นอาจจะส่งผลต่องบประมาณการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยวในไทยที่อาจจะลดลงเมื่อเทียบกับปี 2562 ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การใช้จ่ายของชาวจีนเที่ยวไทยสู่ธุรกิจท่องเที่ยวและเกี่ยวเนื่องอาจจะมีมูลค่าประมาณ 1.86 แสนล้านบาท หรือกลับมา 36% ของการใช้จ่ายของชาวจีนเที่ยวไทยในปี 2562

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ :