ลูกทะเลาะกัน เป็นหนึ่งในเรื่องหนักใจของคุณพ่อคุณแม่ที่มีลูกมากกว่าหนึ่งคน การทะเลาะกันของลูก นอกจากจะสร้างความรำคาญใจให้คุณพ่อคุณแม่แล้ว ยังทำให้ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก ต้องคอยห้ามศึกก็แล้ว ดีไม่ดียังต้องตัดสินและให้ความเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่ายอีกด้วย แต่ปัญหานี้มีวิธีการแก้ไขไม่ให้ลูกทะเลาะกันได้

ลูกทะเลาะกัน อย่าปล่อยให้ติดเป็นพฤติกรรมไปจนโต

ลูกทะเลาะกัน เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ในทุกครอบครัว แต่หากปล่อยการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างพี่น้องเกิดขึ้นบ่อยๆ จากความขัดแย้งธรรมดาก็อาจกลายเป็นความก้าวร้าว เริ่มมีการลงทือทำร้ายร่างกาย และพูดจาหยาบคายใส่กันมากขึ้นเรื่อยๆ

เพื่อไม่ให้ปัญหาลูกทะเลาะกันกลายเป็นหนึ่งในพฤติกรรมที่ติดตัวลูกไปจนโต คุณพ่อคุณแม่จึงควรหาทางสงบศึกพี่น้องและป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งระหว่างพี่น้องกลายเป็นต้นเหตุของปัญหาอื่นในครอบครัวต่อไป และสำหรับลูกเล็กควรเข้าใจสาเหตุของช่วงวัยด้วย

  • เด็กเล็กมักใช้ความคิดตัวเองเป็นใหญ่ จึงเข้าข้างตัวเองและกล่าวโทษอีกฝ่ายอยู่เสมอ
  • เด็กเล็กยังแบ่งปันไม่เป็น หวงของ จึงมักเกิดการแย่งของชิ้นเดียวกัน
  • เด็กเล็กยังไม่สามารถระงับอารมณ์ได้มาก จึงทำให้เกิดการโต้เถียงและเอาชนะกัน

พฤติกรรมพ่อแม่ ปมเหตุพี่น้องทะเลาะกัน

เมื่อเข้าใจธรรมชาติของลูกน้อยแล้ว ต่อไปก็ถึงคราวมาสำรวจตัวเองของคุณพ่อคุณแม่บ้าง เพราะสาเหตุสำคัญที่ทำให้ลูกทะเลาะกันอยู่บ่อยๆ นั้น เกิดขึ้นจาก ” พฤติกรรมของพ่อแม่ ” นั่นเอง
  • ลงโทษลูกโดยใช้ความรุนแรง
เด็กเรียนรู้จากการกระทำของผู้ใหญ่ บ่อยครั้งที่พ่อแม่ลงโทษลูกด้วยการตี จึงทำให้เด็กเข้าใจว่า เมื่อมีปัญหาที่ตกลงกันไม่ได้ วิธีแก้คือ การใช้ความรุนแรงจึงทำให้เกิดปัญหาลูกทะเลาะกัน
  • พ่อแม่เป็นแบบอย่างที่ไม่ดี
เช่น พ่อแม่ทะเลาะกันรุนแรงเป็นประจำ ทำให้เด็กซึมซับและเห็นเป็นแบบอย่าง จึงทำให้ลูกทะเลาะกัน
  • พ่อแม่ไม่ยุติธรรม
การที่พ่อแม่เข้าข้าง และต่อว่า หรือลงโทษฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาจทำให้เด็กอีกฝ่ายเกิดความอิจฉา โกรธเคือง และคิดแกล้งอีกฝ่ายกลับ หรือแม้กระทั่งการตัดสินลงโทษทั้งสองฝ่าย ก็อาจทำให้เด็กโกรธ หวั่นไหว และกังวลต่อความโกรธของพ่อแม่ ซึ่งกระตุ้นให้เด็กมีอารมณ์ต่อกันมากขึ้น
  • พ่อแม่ชอบให้ลูกแข่งขันกัน
การปลูกฝังให้ลูกแข่งขัน แก่งแย่งชิงดีกันมากเกินไป ก็เป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ลูกทะเลาะกัน
  • พ่อแม่ที่บอกว่า ” เป็นพี่ต้องเสียสละให้น้อง “
บ่อยครั้งที่พ่อแม่มักเอาใจน้องและให้พี่ยอมน้อง เสียสละให้น้อง จนทำให้พี่รู้สึกน้อยใจ เพราะถูกละเมิดสิทธิบ่อย ทำให้ไม่ชอบน้อง
  • พ่อแม่ไม่ใส่ใจลูก
เมื่อครอบครัวไม่สงบสุข บ้านมีแต่ความเครียด พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูก ก็ส่งผลให้เด็กไม่มีความสุข กังวล หงุดหงิด และลูกทะเลาะกันกันง่าย

ลูกทะเลาะกัน พ่อแม่ทำอย่างไรดี

  • ช่วยกันแก้ปัญหา

เมื่อลูกทะเลาะกันสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำคือ ยื่นมือเข้าไปช่วยแก้ปัญหา โดยไม่รีบตัดสินว่าใครผิดหรือใครถูก แต่คลี่คลายสถานการณ์ด้วยการช่วยกันหาต้นเหตุของปัญหา เรื่องราวเป็นอย่างไร และก่อนที่ลูกทะเลาะกันกันต่อไป

แต่หากการที่ลูกทะเลาะกันรุนแรง และการเจรจาพูดคุยไม่ได้ผล คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกทั้งสองแยกออกจากกัน รอให้ลูกอารมณ์เย็นลงเสียก่อน ค่อยพากลับมาเจอและหาทางแก้ปัญหาร่วมกันอีกครั้ง

  • ทำให้ลูกรู้ว่าทุกคนในครอบครัวเป็นคนสำคัญ

บางครั้งปัญหาลูกทะเลาะกันก็เกิดจากการเลี้ยงดู ที่ทำให้ลูกคนใดคนหนึ่งรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นที่รัก หรือพ่อแม่รักไม่เท่ากับลูกอีกคน ในทางกลับกันก็อาจทำให้ลูกที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นที่รักมากกว่า กลายเป็นเด็กเอาแต่ใจ ไม่ควบคุมอารมณ์ และไม่ยอมใคร แม้แต่พี่น้องของตัวเอง

การห้ามศึกระหว่างพี่น้องจึงควรทำตั้งแต่ต้นทาง ด้วยการอธิบายและบอกให้ลูกรู้ว่าทุกคนคือคนสำคัญของครอบครัว คุณพ่อคุณแม่รักลูกทั้งสองคน แต่การที่ลูกทะเลาะกันและไม่รักกันต่างหาก ที่ทำให้คุณพ่อคุณแม่เสียใจเสมอ

  • อย่าให้รางวัลปลอบใจ เมื่อลูกทะเลาะกัน

บางครั้งคุณพ่อคุณแม่ต้องการให้สถานการณ์ลูกทะเลาะกันจบลงด้วยดีและรวดเร็ว จึงยื่นข้อเสนอเป็นของรางวัลต่อรองหรือปลอบใจคนใดคนหนึ่ง เช่น ถ้าพี่เลิกตีน้อง แม่จะพาไปกินขนม หรือถ้าน้องไม่แย่งของเล่นพี่ พ่อจะพาไปซื้อของเล่นชิ้นใหม่ เพราะวิธีดังกล่าว อาจได้ผลเพียงชั่วครั้งชั่วคราว แต่สิ่งที่ตามมาก็คือลูกเข้าใจว่าการทะเลาะกันจะได้รับความสนใจ และทำให้คุณพ่อคุณแม่มีข้อเสนอที่ดีมาให้เสมอ

  • สังเกตพฤติกรรม และหยุดก่อนการทะเลาะจะเกิดขึ้น

เวลาที่คุณพ่อคุณแม่ปล่อยให้ลูกใช้เวลาอยู่ด้วยกัน เล่นด้วยกัน ตามประสาพี่น้อง ควรคอยสังเกตพฤติกรรม ลักษณะการเล่น หรือการเข้าปะทะของลูกทั้งสองคน เมื่อพบความผิดสังเกต เช่น มีการดึงของจากมือกันไปมา เริ่มเล่นด้วยความรุนแรง หรือพูดจาไม่ดีใส่กันแล้ว ให้คุณพ่อคุณแม่เข้าไปเปลี่ยนสถานการณ์ก่อนที่พี่น้องจะเปิดศึกใส่กันได้ ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจ ชวนเปลี่ยนกิจกรรม หรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการเล่นกับลูกมากขึ้น ก็จะช่วยลดการปะทะระหว่างพี่น้องลงได้

ลูกทะเลาะกัน

วิธีช่วยห้ามทัพศึกระหว่างพี่น้อง

  • การเลี้ยงดู แม้เป็นพี่น้องกัน แต่มีความแตกต่าง

หนังสือ The Birth Order Book: Why You Are the Way You Are บอกไว้ว่า การเลี้ยงลูก ทั้งพี่และน้องแบบเหมือนกันทุกอย่าง ด้วยความเท่าเทียมกัน ไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด เพราะเด็กแต่ละคน ย่อมแตกต่างกัน ส่วนหนึ่งอาจมาจากลำดับการเกิดด้วย คุณพ่อคุณแม่ควรปรับการเลี้ยงดูให้เข้ากับนิสัยของลูกแต่ละคน ทั้งนี้ รวมไปถึงความชอบของพี่น้องด้วย เช่น ลูกชายคนโต ชอบดูการ์ตูนซุปเปอร์ฮีโร่ แต่ลูกสาวคนเล็ก ชอบดูการ์ตูนเจ้าหญิง ในความคิดของคุณพ่อคุณแม่ อาจคิดว่ามันก็คือการ์ตูนเหมือนกัน หากเลือกเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ลูกจะคิดว่าลำเอียง อาจทำให้เกิดความน้อยใจได้ คำแนะนำคือ ควรให้ในสิ่งที่ลูกแต่ละคนต้องการ แบ่งเวลากัน เขาจะได้ในสิ่งที่ต้องการทั้งคู่ จะช่วยห้ามทัพไม่ให้ลูกทะเลาะกันได้

  • สอนให้รู้จักการแบ่งปัน พี่ไม่จำเป็นต้องเสียสละให้น้อง

‘เป็นพี่ต้องเสียสละให้น้อง’ ประโยคยอดฮิตที่ได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ เมื่อนำมาใช้เป็นวิธีเลี้ยงลูกแล้ว คุณพ่อคุณแม่คงจะต้องปรับกันสักหน่อย อาจปลูกฝังให้ลูกรู้จักการแบ่งปัน ทั้งการใช้สิ่งของร่วมกัน ทานขนมด้วยกัน เล่นด้วยกัน หรือผลัดกันเล่นของเล่น หากเกิดกรณีที่ ลูกคนโตกำลังเล่นของเล่นอยู่ แล้วลูกคนเล็กก็อยากเล่นชิ้นนั้นขึ้นมาพอดี ไม่ควรบอกให้พี่เสียสละให้น้อง แต่จงสอนให้พี่น้องแบ่งกันเล่น บอกถึงข้อดีของการเล่นด้วยกัน และที่สำคัญ อย่าลืมชมลูกทันที เมื่อเกิดการแบ่งปันกันเกิดขึ้น และต้องชมทุกครั้งที่เล่นด้วยกันอย่างสงบ จะช่วยให้เขาจดจำได้ว่าการแบ่งปันกันเป็นเรื่องที่ดี นอกจากนี้ยังช่วยลดไม่ให้ลูกทะเลาะกันได้อีกด้วย

  • เอาน้ำเย็นเข้าลูบ ฟังเหตุผล อย่าพึ่งดุลูก

เมื่อพี่น้องทะเลาะกัน คุณพ่อคุณแม่ต้องใจเย็น อย่าพึ่งดุลูกในทันที และไม่ควรฟังความข้างเดียว ต้องรับฟังเรื่องราวของทั้งสองฝ่าย หาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดการทะเลาะ แล้วหาทางออกร่วมกัน สอนให้เขาเรียนรู้ซึ่งกันและกัน รู้จักการเสียสละ อดทน ใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์ ที่สำคัญคือ การสอนให้ลูกรู้จักยอมรับผิด สอนให้พูด ‘ขอโทษ’ ไม่ว่าน้องหรือพี่จะเป็นฝ่ายผิดก็ตาม และนอกจากคุณพ่อคุณแม่จะต้องใจเย็นแล้ว ยังต้องระวังอย่าเป็นตัวจุดชนวน เพิ่มความขัดแย้งให้ระหว่างพี่น้องอีกด้วยล่ะ

  • ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่ใช่การแข่งขัน

หากในครอบครัวมีลูกหลายคน เป็นเรื่องธรรมดาที่พี่น้องจะคิดว่ามีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา วิธีเลี้ยงลูก คือ คุณพ่อคุณแม่ควรสอนให้พวกเขารักกัน ผ่านการทำกิจกรรม อย่างเช่น การเล่นเกมแล้วให้ลูกอยู่ทีมเดียวกัน เพื่อให้เขาได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหา และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งการร่วมมือระหว่างพี่น้องนี้ จะช่วยทำให้พี่น้องปรองดอง เกิดความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว และสิ่งที่สำคัญ คือ ระวังคำพูด ไม่ควรพูดให้ลูกเปรียบเทียบกันเอง เช่น ‘ทำไมน้องถึงไม่เชื่อฟังคุณแม่ เหมือนพี่เขาล่ะ’ คำพูดพวกนี้นี่แหละที่อาจเป็นเหตุให้ลูกทะเลาะกันได้

  • ความหิว ตัวการร้ายกาจที่ทำให้พี่น้องทะเลาะกัน

สำหรับเด็ก ๆ แล้ว เมื่อเขาเริ่มหิว คำพูดหรือการกระทำของพี่หรือน้อง คงทำให้ขัดใจ หรือขวางหูขวางตาไปซะหมด จนทำให้เกิดการทะเลาะกันเกิดขึ้น บางกรณี เล่นของเล่นกันอยู่ดี ๆ ก็ทะเลาะกันขึ้นมาเฉยเลย ดังนั้น เมื่อถึงเวลาทานอาหาร คุณพ่อคุณแม่ก็จะเริ่มได้ยินเสียงสัญญาณการตีกันระหว่างพี่น้อง วิธีเลี้ยงลูกของปัญหานี้ ให้ลองเรียกลูกมาทานข้าวดูสิ เชื่อว่าปัญหาลูกทะเลาะกัน จะถูกคลี่คลายไปได้ง่าย ๆ เลยล่ะ

 

คำแนะนำในการเลี้ยงดูเมื่อลูกทะเลาะกันนี้ คงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ห้ามทัพศึกแห่งพี่น้องทะเลาะกันนี้ไปได้อย่างสบายใจแน่นอน แต่เรื่องสำคัญที่สุดเลย คือ อย่าลืมว่าเมื่อในครอบครัวมีลูกหลายคน การเลี้ยงดู หรือวิธีเลี้ยงลูก อบรมสั่งสอนลูกแต่ละคน ควรปรับให้เหมาะกับอุปนิสัย และความชอบของลูก เพราะเด็กแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกัน เพียงเท่านี้เราก็สามารถยุติปัญหาลูกทะเลาะกันไปได้อย่างสบาย

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่  kilmallockgolf.com
สนับสนุนโดย  ufabet369