ผมร่วง ผมขาดง่าย ผมไร้น้ำหนัก หรือขาดความเงางาม อาจเป็นปัญหาทั่วไปที่พบได้ของคนทุกวัยตามปกติ แต่สำหรับสาเหตุผมผมร่วงในวัยรุ่นและวัยทำงาน ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่ แต่กลับมีปัญหาเส้นผมใกล้เคียงคนอายุมากได้ อาจมีสาเหตุจากพันธุกรรม สภาพแวดล้อมในปัจจุบัน แต่สามารถดูแลรักษาอาการผมร่วงเองได้หลายวิธี

ผมร่วง เพราะอะไร

เส้นผมของเราประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว ไม่มีชีวิต ไม่มีความรู้สึก และงอกออกมา ปกคลุมหนังศีรษะ ผมของคนเราจะมีการงอกทดแทนใหม่อยู่ตลอดเวลาในขณะที่ผมเก่ามีการหลุดร่วงออกจากหนังศีรษะก็จะมี ผมใหม่เกิดอยู่ข้างๆแทนที่และงอกชดเชยเส้นที่หลุดไปในวัยหนุ่มสาวเส้นผมจะยาวออก 2.8 มม. ต่อสัปดาห์ ต่อเมื่ออายุมากขึ้นประมาณ 40-45 ปี การงอกของเส้นผมจะลดลง คือยาวออกเพียง 1.82 มม. ต่อสัปดาห์

โดยปกติเส้นผมของคนเราจะมีทั้งหมดประมาณ 100,000-150,000 เส้น และจะหลุดร่วงไปประมาณวันละ 50-100 เส้น  เส้นผมบนหนังศีรษะที่หลุดร่วงไปตามปกติจะเป็นเส้นผมในระยะ Telogen แต่ถ้าวันไหนสระผม อาจจะมีจำนวนที่ร่วงเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าได้ การงอกและการเจริญเติบโตของผมมีรอบระยะเวลาที่จำกัดคือ ตั้งแต่ผมเริ่มงอกจนกระทั่งหลุดร่วงไป จะใช้เวลาประมาณ 3-5 ปี หรือประมาณ 1,000 วัน เรียกว่า 1 รอบ แล้วหลังจากนั้น รากผมจะหยุดชั่วคราว ประมาณหลายสัปดาห์กว่าจะมีการสร้างเส้นผมขึ้นใหม่ แต่เมื่ออายุมากขึ้น จนถึงวัยชรา รากผมบางส่วนจะมีการเสื่อมสภาพไป และหยุดการทำงาน จึงทำให้เส้นผมมีจำนวนน้อยลง

ดังนั้นหากพบว่ามีผมร่วงมากกว่า 100 เส้นในแต่ละวัน ก็หมายความว่าเป็นสิ่งที่ผิดปกติ หรือการร่วงไม่มากแต่มีลักษณะผมร่วงเป็นบางบริเวณ เรียกว่า “ผมร่วงเป็นหย่อม” ก็ถือว่าเป็นโรคของผมเช่นกัน ควรจะรีบหาสาเหตุ และรักษาให้หายโดยเร็วที่สุดมิฉะนั้นอาจทำให้ผมร่วงมากขึ้น จนผมบางลง หรือศีรษะล้านในที่สุด

สาเหตุของผมร่วง

เแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย

1. ปัจจัยภายในร่างกาย

  • เกิดจากกรรมพันธุ์

คุณอาจจะพบบ่อยว่าคนไหนที่มีผมบาง หรือศีรษะล้าน ก็มักจะมีคนในครอบครัวที่เป็นด้วย มักจะเป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนมากมักเริ่มมีผมร่วง เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น หลังจากนั้นก็จะร่วงจนผมบางลงเรื่อยๆเมื่ออายุมากขึ้น ผู้ชายมักเริ่มมีผมบางที่บริเวณกลางศีรษะก่อน แต่ผู้หญิงมักมีผมบางทั่วศีรษะ สาเหตุเกิดจากฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่า แอนโดรเจน (androgen) ซึ่งฮอร์โมนนี้ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงวงจรของผมในระยะ anagen ทำให้มีอายุสั้นลงจึงทำให้เส้นผมในระยะสุดท้าย telogen มีมากขึ้น ผมจึงร่วงมากขึ้นและในที่สุดก็จะทำให้รูขุมขนบางแห่งหายไป จึงไม่มีผมใหม่งอกขึ้นทดแทน ทำให้ผมบาง หรือศีรษะล้านนั้นเอง

  • เกิดจากฮอร์โมน

โรคของต่อมไร้ท่อ ทำให้ผมร่วงทั่วศีรษะหรือร่วงเป็นหย่อมๆ ได้ เช่น โรคของต่อมธัยรอยด์(Thyroid), ต่อมใต้สมอง(Pituitary)หรือ คนที่เป็นเบาหวาน ซึ่งควบคุมไม่ได้ก็อาจมีร่วงได้

ฮอร์โมน DHT ( Dihydroxytestosterone) เป็นส่วนหนึ่งของโฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone) ที่มีหน้าที่กระตุ้นไขมันที่บริเวณรากขนหรือรากผม ทำให้เส้นผมมันเป็นเงางาม ไม่แห้งกระด้าง แต่หากกรณีที่มีDHT มากเกินไป จะมีผลให้วงจรชีวิตของเส้นผมเร็วขึ้น ผมอายุสั้นลง และหลุดร่วงง่ายขึ้น และเมื่องอกขึ้นใหม่ ก็จะมีขนาดเล็กลงบางลงเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ไม่งอกอีกเลย ทำให้เกิดปัญหาซึ่งเกิดได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย แต่พบในผู้ชายมากกว่า

  • เกิดจากความเครียด พักผ่อนน้อย

จากความเครียด มีผลทำให้การทำงานของฮอร์โมนผิดปกติ ซึ่งมักจะกระตุ้นวงจรชีวิตของเส้นผมให้สั้นลง มีผลทำให้เกิดผมร่วงทั่วศีรษะ ( Telogen Efflutivum ) หรือ ผมร่วงเป็นหย่อม ( Alopecia areata) ได้

  • เกิดจากความเจ็บป่วย

หลังจากความเจ็บป่วย เช่น มีไข้สูง ได้รับการผ่าตัด เสียเลือดมาก ช๊อค ขาดสารอาหาร หรือหลังคลอดบุตร จะทำให้ผมในระยะ anagen เปลี่ยนเป็นผมในระยะ telogen จำนวนมาก หลังเกิดความผิดปกติต่างๆในร่างกาย ผมจะร่วงมาก หลังจากผ่านเหตุการณ์ไปแล้วประมาณ 2-4 เดือน ผมร่วงชนิดนี้ ไม่จำเป็นต้องรักษาเพราะผมจะงอกใหม่ขึ้นมาทดแทนภายใน เวลาประมาณ6 เดือน แต่หากเกิดภาวะผิดปกติซ้ำอีก อาจทำให้ต่อมผมบางส่วนถูกทำลายไป ทำให้ผมขึ้นใหม่น้อยกว่าเดิมได้

2. ปัจจัยภายนอกร่างกาย

  • เกิดจากยา เคมีบำบัด และสารพิษ

ยาหลายชนิดที่ทำให้ผมร่วงได้ เช่น ยารักษาโรคมะเร็ง ยาอื่นๆ(ดูในตาราง) หรือการได้รับสารพิษ เป็นต้น ทำให้ร่วงได้มากถึงวันละ 100-1,000 เส้น เกิดจากการที่ผมในระยะ anagen หยุดการเจริญเติบโตทำให้เส้นผมขาดและหลุดร่วงไป ผมจึงร่วงเป็นวันละมากๆได้เพราะเส้นผมปกติจะอยู่ในระยะ anagen ถึงร้อยละ 90 ของผมทั้งหมด ผมมักจะเริ่มร่วงประมาณ 1-2 สัปดาห์ และจะเห็นชัดประมาณ 1-2 เดือน หลังได้รับยา ผมอาจร่วงจนหมดศีรษะได้ แต่หลังจากหยุดยา ผมก็จะขึ้นใหม่ได้เอง โดยไม่ต้องรักษา

  • การขาดสารอาหารหรือแร่ธาตุ

การขาดโปรตีนอย่างเดียว(Kwasshiokor) หรือการขาดแร่ธาตุต่างๆ เช่นเหล็ก สังกะสี จะทำให้มีผมร่วงทั่วศีรษะได้ แต่ถ้าขาดโปรตีนเป็นช่วงๆผมอาจจะไม่ร่วง แต่มีสีจางสลับกับสีเข้มได้

  • การทำผม การมัดผม ดึงรั้งผม

บริเวณหน้าผาก หรือเกล้าผมบ่อย เป็นประจำ ทำให้ผมบริเวณนั้นร่วงง่ายขึ้น และผมบางลง ถ้าทำอย่างนั้นเป็นเวลานานมาก ผมบริเวณนั้น อาจจะไม่งอกขึ้นอีกเลย

  • จากการติดเชื้อ

เกิดจากการติดเชื้อ เช่น เชื้อรา-โรคกลาก, เชื้อแบคทีเรีย เช่น ฝี , รูขุมขนอักเสบ, วัณโรค, โรคเรื้อน, ซิฟิลิส ระยะที่ 3 , เชื้อไวรัส เช่น อีสุกอีใส งูสวัด, เชื้อโปรโตชัว เช่น Leishmaniasis เมื่อตรวจดูหนังศีรษะจะมีแผลเป็น เนื่องจากผิวหนังและรากผมถูกทำลาย เป็นลักษณะร่วงแบบมีแผลเป็น เมื่อรักษาโรคหายแล้ว ผมจะไม่งอกขึ้นมากอีกเลย

  • จากเนื้องอกหรือมะเร็ง

เกิดจากเนื้องอกของต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน รูขุมขน หรือมะเร็งของผิวหนัง มะเร็งที่แพร่กระจายมาจากอวัยวะอื่น

ผมร่วง

การรักษาผมร่วง 

  • ใช้ยา ส่วนใหญ่การใช้ยาเป็นวิธีการรักษาผมร่วงเริ่มแรก ทั้งยาทาและยาสำหรับรับประทาน ควรมาจากการแนะนำของแพทย์ เพราะมีผลข้างเคียงจากยาที่ต้องระวัง
  • ทำทรีตเมนต์ เพื่อกระตุ้นให้เกิดรากผมใหม่ รวมถึงบำรุงรักษาเส้นผมที่มีให้คงอยู่
  • ปรับฮอร์โมน ในกรณีร่วงจากภาวะฮอร์โมนบกพร่อง
  • ทำเลเซอร์ เพื่อแก้ปัญหาการเสื่อมสภาพของเส้นผม และช่วยกระตุ้นเส้นผมให้เกิดใหม่
  • ฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น PRP (Platelet-rich Plasma) เพื่อกระตุ้นการทำงานของสเต็มเซลล์บริเวณรากผม
  • การปลูกผมโดยวิธีผ่าตัดเจาะรากผมบริเวณท้ายทอย ซึ่งเป็นบริเวณไม่ค่อยโดนผลกระทบจากฮอร์โมน แล้วย้ายรากผมมาปลูกลงในบริเวณที่ต้องการ

วิธีแก้ปัญหาและดูแลรักษาไม่ให้ผมร่วง

  • หลีกเลี่ยงการมัดผมแน่นเกินไป  พยายามอย่าดึง บิด หรือขยี้ผมแรงๆ
  • ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่มีธาตุเหล็กและโปรตีนในปริมาณที่เพียงพอในแต่ละวัน
  • เลือกใช้แชมพูที่เหมาะกับสภาพหนังศีรษะ โดยแชมพูที่ใช้นั้นต้องไม่ก่อให้เกิดการแพ้ การคัน รังแค หรือผื่นบนหนังศีรษะ
  • ผลิตภัณฑ์และเครื่องมือจัดแต่งทรงผมก็เป็นสาเหตุของปัญหาเช่นกัน เช่น เครื่องเป่าลม ที่หนีบผมผลิตภัณฑ์เปลี่ยนสีผม สารฟอกขาว น้ำยาดัด
  • หลีกเลี่ยงความเครียด ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย หากกำลังเผชิญปัญหาควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ละบุคคล

อาหารที่ช่วยบำรุงผม

การรับประทานอาหารสุขภาพดีเพื่อให้ร่างกายของคุณทำงานได้เต็มประสิทธิภาพนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญ เมื่อร่วมกับการออกกำลังกายแล้ว จะช่วยให้ระดับฮอร์โมนของคุณมีความสมดุล ทำให้เลือดไหลเวียนดี และทำให้สุขภาพจิตของคุณดีขึ้น ซึ่งเหล่านี้จะไปลดความเครียดของคุณลง วิตามินและแร่ธาตุบางตัวช่วยเร่งให้ผมงอกได้ดี นั่นคือ

  • วิตามิน B3 และ B12 ช่วยขนส่งเลือดและออกซิเจนไปยังผมและหนังศีรษะ ผู้ที่ขาดวิตามิน B3 อาจทำให้ผมบางและผมร่วงได้
  • โปร-วิตามิน B5 จะช่วยล็อคน้ำและความชุ่มชื้นไว้ให้กับผิว จึงเรียกว่าเป็น มอยส์เจอไรเซอร์ที่มีประสิทธิภาพ และเป็นสารอาหารที่ทำให้เส้นผมและผิวหนังนุ่มขึ้น วิตามิน B5 มีประโยชน์อย่างมากสำหรับการป้องกันผมหงอกเมื่ออายุมากขึ้น ดังนั้น วิตามินนี้จึงมีอีกชื่อเรียกหนึ่งคือ “วิตามินต้านความเครียด”
  • วิตามิน B7 มีประโยชน์อย่างมากในการบำรุงเส้นผม ทำให้ผมหนาขึ้น และเพิ่มวอลลุ่มให้กับเส้นผม วิตามินนี้จะช่วยสร้างเคราตินที่ช่วยลดความแห้งของเส้นผม ทำให้ผมนุ่มขึ้น และทำให้กระบวนการแก่ตัวของเส้นผมช้าลง
  • วิตามิน C ช่วยกระตุ้นการงอกของเส้นผม รวมถึงช่วยสร้างคอลลาเจนเพื่อทำให้ผมและหนังศีรษะแข็งแรง รับประทานอาหารที่มีวิตามิน C เพื่อช่วยให้ผมของคุณไม่แห้ง หรือบางลง และช่วยป้องกันผมร่วงด้วย

 

การมีผมร่วงนั้นเป็นเรื่องปกติและเกิดขึ้นทุกๆ วัน ส่วนใหญ่มักเกิดเพียงชั่วคราว สำหรับบางคนอาจรู้สึกเฉยๆ และยอมรับได้ โดยเฉพาะเมื่อเกิดตามธรรมชาติหรือตามวัย ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องทำการรักษาก็ได้ ในขณะที่บางคนอาจรู้สึกไม่ดี ขาดความมั่นใจ และกลายเป็นความเครียดและวิตกกังวล จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ในการแก้ไขปัญหาผมร่วง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของการเกิดผมร่วงและหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด

 

เรื่องเกี่ยวกับสุขภาพอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

ที่มาของบทความ

 

ติดตามเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่ kilmallockgolf.com

สนับสนุนโดย  ufabet369